Jump to content
Wikimedia Meta-Wiki

การสํารวจสิ่งปรารถนาของชุมชน 2021

From Meta, a Wikimedia project coordination wiki
This page is a translated version of the page Community Wishlist Survey 2021 and the translation is 56% complete.
Other languages:
การสํารวจความปรารถนาในปี 2021 ได้สิ้นสุดแล้ว...

ทั้งหมด: 268 ข้อเสนอ, 1773 ผู้มีส่วนร่วม, 8596 ผู้เห็นด้วย

ดูข้อเสนอแบบสุ่ม

แยกตามหมวดหมู่
คลิกที่หมวดหมู่เพื่อดูคําขอนั้น ๆ

ผู้ดูแลและผู้ตรวจตรา
25 ข้อเสนอ
การต่อต้านการล่วงละเมิด
3 ข้อเสนอ
บอทและแกดเจ็ต
15 ข้อเสนอ
หมวดหมู่
12 ข้อเสนอ
การอ้างอิง
12 ข้อเสนอ
การแก้ไข
39 ข้อเสนอ
เบ็ดเตล็ด
27 ข้อเสนอ
โทรศัพท์มือถือและแอป
18 ข้อเสนอ
สื่อผสมและคอมมอนส์
31 ข้อเสนอ
การแจ้งเตือน
7 ข้อเสนอ
การอ่าน
13 ข้อเสนอ
ค้นหา
9 ข้อเสนอ
การแปล
10 ข้อเสนอ
รายการเฝ้าดู
17 ข้อเสนอ
วิกิสนเทศ
21 ข้อเสนอ
วิกิซอร์ซ
5 ข้อเสนอ
วิกิพจนานุกรม
4 ข้อเสนอ

Starting this July 2021, the team will start engineering work on the following wishes:

We will also begin the product and design research for the following wish:

We fully expect to be able to complete more wishes than the above. The above list is only what is in our plate starting this July.

How did we arrive at our next steps? We recently completed the 2021 Wish prioritization process.

ทุกช่วงจะนับเริ่มต้นและสิ้นสุดที่เวลา 18:00 นาฬิกาตามเวลามาตรฐานกรีนิช หรือเวลา 25:00 นาฬิกาตามเวลาประเทศไทย (วันถัดไปเวลา 01:00 นาฬิกา)

  • เสนอ อภิปราย และปรับแก้: 16 พฤศจิกายน – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
  • เทคนิคชุมชนตรวจทานและจัดแจงข้อคิดเห็น: 23 พฤศจิกายน – 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563
  • ลงคะแนนให้กับแต่ละหัวข้อ: 8 ธันวาคม – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563
  • ประกาศผล: 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

สวัสดีทุกท่าน

เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันการอัปเดตในการสํารวจสิ่งปรารถนาของชุมชน 2021 ซึ่งเป็นกิจกรรมประจําปีครั้งที่หก และเราได้เลือกที่จะปรับปรุงกระบวนการ

งานค้างปีต่อปี: ตอนนี้ทีมจะมีชุดงานเพียงชุดเดียวสําหรับแต่ละปี นั่นหมายถึงแต่ละครั้ง อาสาสมัครจะทําการลงคะแนน เมื่อได้ข้อเสนอสุดท้ายทางทีมจะปฏิบัติตามข้อเสนอสําหรับปีนั้น ๆ ซึ่งอาจเสนอข้อเสนอเก่า ๆ ได้ เมื่อได้ชุดงานใหม่ ชุดงานของปีที่แล้วมาจะได้รับการตัดสินว่าจะทําต่อหรือสิ้นสุดที่ปฏิเสธ เพื่อให้เราจะได้รับข้อเสนอที่สําคัญและเป็นปัจจุบันมากที่สุด

สถานะของข้อเสนอที่เหลืออยู่จากปี 2019 และ 2020: ยังเหลืออีก 3 ข้อเสนอจากปี 2019 และ 2020 ที่เรายังไม่ได้ทําให้สําเร็จ ซึ่งเนื่องด้วยเป็นข้อเสนอที่ได้รับการลวคะแนนเป็นจํานวนมาก เราจึงจะนํามารวมในงานค้างของปี 2021 ของเราด้วย จากการสํารวจจากปี 2019 มี 2 ข้อเสนอคือการตั้งชื่อของแท็กอ้างอิงใช้ซ้ําใน VE และชื่อของส่วนในส่วนดูความแตกต่างระหว่างรุ่น และจากปี 2020 มี 4 ข้อเสนอที่เราเริ่มดําเนินการหรือกําลังดําเนินการอยู่ และยังเหลืออีก 1 ข้อเสนอจากปี 2020 ที่เรายังไม่เริ่มดําเนินการใด ๆ เลย และจะถูกรวมไว้ในปี 2021 นี้ คือการเพิ่มแหล่งอ้างอิงจากวิกิซอร์ซเป็นแหล่งอ้างอิงยืนยันแล้ว ดูรายงานฉบับเต็มของเราเพิ่มเติมที่รายงานสถานะของความปรารถนาปี 2019

การวิจัยและการอัปเดตทั่วไปเพื่อการแทนที่ "10 อันดับแรก": เราได้ตัดสินใจที่จะไม่ผูกมัดกับตัวเลข (เช่น "5 อันดับแรก" หรือ "10 อันดับแรก") ล่วงหน้าอีกต่อไป เหตุผลคือทีมพัฒนาซอร์ฟแวร์มักจะทําการวิจัยอย่างหนักล่วงหน้าก่อนนําไปใช้จริงในโครงการเสมอ ด้วยวิธีนี้ เหล่าผู้พัฒนาจะสามารถระบุได้ว่าโครงการนั้นเป็นไปได้หรือไม่ ใช้เวลาเท่าใด และมีความเสี่ยงเพียงใด ด้วยกระบวนการความปรารถนาในปัจจุบัน เราไม่สามารถทําเช่นนั้นได้ ซึ่งตามมาด้วยความล่าช้าและสับสน และเราต้องการแก้ไขสิ่งนี้

ด้วยระบบใหม่ เราจะทําการวิจัยก่อนการนําไปให้ทีม เราจะประเมินความปรารถนาตามลําดับความนิยมจากบนลงล่าง ในระหว่างที่เราวิจัย เราจะทําการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ความนิยม ขนาดและขอบเขตของโครงการ ระดับความเป็นไปได้ทางเทคนิค ความเสี่ยงและการใช้ดีเพนเดนซีส์ และความขัดแย้งกับทีมอื่น ๆ เมื่อเราทําการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว เราจะแบ่งปันสิ่งที่เราพบ ซึ่งหมายความว่าเราจะยังดําเนินการหลายโครงการต่อปีเช่นเดิม เพียงเพิ่มการพูดคุยว่าเราจะดําเนินการข้อเสนอใดบ้าง และข้อเสนอใดที่จะตกไป (พร้อมเหตุผล) และเราจะแบ่งปันข้อมูลอัปเดตตลอดทั้งปีเกี่ยวกับแผนงานของเรา

การแยกประดานอันดับในแต่ละหมวด: เราจะเก็บโครงสร้างปกติของการแสดงข้อเสนอทั้งหมดอย่างนั้น ในกระดานลําดับหลักจะเรียงลําดับตามจํานวนการลงคะแนน และแต่ละหมวดจะมีการเรียงลําดับตามการลงคะแนนด้วย ซึ่งทําให้เราสามารถดําเนินการตามความนิยมของชุมชน (จากกระดานจัดลําดับหลัก) โดยใช้แนวทางตามแนวทางที่กล่าวไว้ด้านบนสําหรับเลือกสิ่งที่จะดําเนินการ

ทําไมต้องเปลี่ยนแปลง?: เราทราบดีว่ากระบวนการความปรารถนานี้พร้อมสําหรับการอัปเดตสักที ความปรารถนาเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นและซับซ้อนขึ้นในทุก ๆ ปี และเราต้องการปรับปรุงปฏิสัมพันธ์กับอาสาสมัครอื่น ๆ อีกอย่างหนึ่ง เรายังต้องการนําข้อเสนอทั้งจากชุมชนเล็ก ๆ (เช่นครั้งเมื่อปี 2020) และข้อเสนอที่จะส่งผลกระทบสูงต่อชาววิกิมีเดียมั้งหมดนําไปดําเนินการบ้าง สิ่งนี้นําไปสู่พูดคุยเกี่ยวกับวิธีที่เราจะปรับปรุงกระบวนการในการว่าจะปรับปรุงได้อย่างไร โดยรวมแล้วเราหวังว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทําให้กระบวนการสิ่งปรารถนามีความโปร่งใส ยั่งยืน และมีประสิทธิผลมากขึ้น ด้วยวิธีนี้การสํารวจจะมีความเข้มแข็งมากขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้า ขอขอบคุณและเราหวังว่าจะได้อ่านข้อเสนอของคุณ

ทีมงานเทคนิคชุมชน เป็นทีมงานของมูลนิธิวิกิมีเดียที่มุ่งเน้นไปยังความต้องการของผู้มีส่วนร่วมในวิกิมีเดีย สําหรับเครื่องมือการดูแลจัดการและการกลั่นกรองที่ดีขึ้น โครงการที่เราจะนําไปดําเนินการจะเป็นโครงการที่ได้รับเลือกโดยชุมชนวิกิมีเดีย โดยผ่านแบบสํารวจรายการสิ่งที่อยากได้ของชุมชนประจําปี

ในแต่ละปี ผู้มีส่วนร่วมในชุมชนวิกิมีเดียจะสามารถทําการส่งข้อเสนอเกี่ยวฟีเจอร์และการปรับปรุงด้านเทคนิคที่ต้องการให้ทีมของเราดําเนินการ หลังจากผ่านไปสองสัปดาห์ ผู้ใช้อื่นจะเข้าร่วมลงคะแนนในข้อเสนอที่พวกเขาเห็นว่าเป็นประโยชน์ที่สุด

เมื่อการสํารวจปิดลง ทีมเทคนิคชุมชนจะเลือกบางข้อเสนอจากการสํารวจเพื่อนําไปดําเนินการ ข้อเสนอเหล่านั้นจะถูกเลือกโดยเกณฑ์ความนิยม (เช่น โดยจํานวนผู้ลงคะแนน) ขนาดและขอบเขตของโครงการ ระดับด้านเทคนิคที่จําเป็น ความเสี่ยงและการพึ่งพา และความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อขัดแย้งกับทีมอื่น ๆ บางข้อเสนออาจได้รับการสนองโดยผู้พัฒนาที่เป็นอาสาสมัครหรือทีมอื่น ๆ เพื่อนําไปดําเนินการแทน

กระบวนการสํารวจนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทีมความปรารถนาด้านเทคนิคของวิกิมีเดียดัตช์แลนด์ ผู้จัดการสํารวจความปรารถนาบนวิกิพีเดียภาษาเยอรมัน กระบวนการสิ่งที่อยากได้ระหว่างประเทศได้รับการสนับสนุนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนสัมพันธ์

สุนัขสวมหมวกซานต้า มาสคอตประจําทีมเทคนิคชุมชน

ช่วงการส่งข้อเสนอจะอยู่ในช่วงสองสัปดาห์แรกของการสํารวจ

ในระยะการส่งข้อเสนอ ผู้มีส่วนร่วมจากทุกโครงการและทุกภาษาจะสามารถส่งข้อเสนอสําหรับเพิ่มฟีเจอร์และการแก้ไขที่คุณต้องการเห็นในปี 2021 ข้อเสนออาจถูกส่งในภาษาใดก็ได้ หาดคุณส่งในภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษเช่นภาษาไทย เราจะพยายามแปลเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจและลงคะแนนให้คุณได้ง่ายขึ้น

ข้อแนะนําที่นํามาเสนอไม่ควรเป็นงานที่ต่อเนื่องและต้องมีประโยชน์ต่อผู้ใช้วิกิมีเดียโดยรวม ข้อเสนอควรระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ปัญหาที่คุณต้องการแก้ไขคืออะไร?
  • กลุ่มผู้ใช้ใดที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้? (หมายรวมถึงทั้งด้านดีและผลเสีย เช่น ผู้ใช้ทั้งหมด, ผู้ดูแลระบบ, ผู้ใช้ของวิกิซอร์ซ)
  • ปัญหานี้ในปัจจุบันถูกแก้ไขอย่างไร
  • มีแนวทางแก้ปัญหาที่แนะนําหรือไม่? (หากคุณมีแนวทาง)

ข้อเสนอของคุณควรเจาะจงให้มากที่สุดเท่าที่ทําได้ โดยเฉพาะในการระบุปัญหา อย่าเพียงให้ข้อมูลว่า "คุณลักษณะ ก ล้าสมัยแล้ว!" "ต้องการปรับปรุง" หรือ "เจอบั๊กเยอะมาก" มันมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะดูว่าปัญหาจริง ๆ อยู่ที่มด แล้วใครได้รับผลกระทบจากมันบ้าง แต่ไม่เป็นไรหากคุณไม่ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาหรือมีวิธีแก้ไม่กี่วิธีที่คิดออก และคุณไม่ทรสบว่าวิธีใดดีที่สุด

การส่งข้อเสนอเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการ ข้อเสนอระยะสองสัปดาห์เป็นเวลาที่ชุมชนสามารถร่วมกันร่างข้อเสนอที่นําเสนอความคิดในหนทางส่วนใหญ่ที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสําเร็จในขั้นตอนการลงคะแนน เมื่อมีการส่งข้อเสนอ ทุกคนจะได้รับเชิญไปแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว และช่วยทําให้มันดีขึ้น ถามคําถาม และเสนอการเปลี่ยนแปลง ข้อเสนอที่ซ้ํากันสามารถนํามารวมกัน ข้อเสนอที่กว้างมากควรจะแยกออกเป็นความคิดที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยมีเป้าหมายคือการสร้างข้อแนะนําที่ดีที่สุดสําหรับโครงการ

ผู้แจ้งข้อเสนอที่ควรคาดหวังที่จะใช้งานในการอภิปรายดังกล่าว และช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน เพราะเรากําลังจะจํากัดที่สามข้อเสนอต่อคน หากคุณโพสต์มากกว่าสามข้อเสนอ เราก็จะขอให้คุณลดลงเหลือเพียงสามเพื่อนําสู่ไอเดียที่ดีที่สุดของคุณ !

และผู้ใช้ลงทะเบียนแล้วเท่านั้นที่สามารถสร้างข้อแนะนําได้และผู้ใช้เหล่านั้นก็สามารถปักหมุดเพื่อติดตามการตอบกลับและตอบคําถามต่าง ๆ เหมือนกับช่วงลงคะแนน คุณควรเป็นผู้ใช้ที่ยังแอคทีฟอยู่ (มีหลายการแก้ไขเมื่อไม่นานมานี้) และมีประวัติการแก้ไขในมากกว่า 1 โครงการของวิกิมีเดีย ถ้าคุณไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้หรือเสนอไปแล้วสามข้อเสนอแนะ คุณสามารถให้ผู้ใช้อื่นเสนอแทนคุณได้

อีกประการหนึ่ง ข้อเสนอที่เรียกร้องให้ถอดถอนหรือปิดการใช้งานคุณลักษณะของทีมสร้างคุณลักษณะของมูลนิธิวิกิมีเดียจะอยู่นอกขอบเขตที่เป็นไปได้ของชุมชนเทคนนิคแห่งวิกิมีเดีย และจะไม่ได้รับการดําเนินการไปยังขั้นตอนการลงคะแนน

ได้ คุณอาจจะส่งข้อเสนอเดียวกันได้หากครั้งที่แล้วไม่ได้รับคะแนนเพียงพอ และยังคงมีหวังเสมอ

หากคุณเลือกที่จะคัดลอกข้อเสนอจากปีที่ผ่าน ๆ มาเป็นข้อเสนอใหม่ เราหวังว่าคุณจะ "ปรับ" ข้อเสนอนั้น หมายความว่าคุณอาจจะให้การมีส่วนร่วมในกาาอภิปรายเกี่ยวกับข้อเสนอนั้น และยอมรับว่าจะทําให้ข้อเสนอแข็งแกร่งขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงการลงคะแนน อย่างที่เรากล่าวด้านบน เรามีข้อจํากัดหนึ่งบุคคลต่อสามข้อเสนอ และการเสนอซ้ําจากปีก่อน ๆ จะถือเป็นหนึ่งในสามนั้นด้วย

จะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งหากคุณให้ลิงก์ไปยังการอภิปรายก่อนหน้า แต่กรุณาอย่าคัดลอกการอภิปรายจากครั้งที่แล้วนั้นมาด้วยทั้งหมด หากมีประเด็นที่ดีที่ผู้คนพูดคุยกันแล้วให้ใส่ร่วมในข้อเสนอส่วนข้อเสนอแนะหรือกรณีข้อสังเกตไว้ในข้อเสนอใหม่ด้วย

หลังจากผ่านช่วงการเพิ่มการแนะนําใหม่แล้ว เราจะใช้เวลาพักนึงเพื่อตรวจทานข้อแนะนําต่าง ๆ ก่อนที่ช่วงการลงคะแนนจะเริ่มขึ้น

ผู้ใช้ที่ยังแอคทีฟอยู่สามารถช่วยตรวจทานและลงคะแนนให้กับข้อแนะนําที่ต้องการความข่วยเหลือ คุณสามารถลงคะแนนให้กับข้อเสนอแนะกี่อันก็ได้ที่คุณเห็นด้วย และเพื่อความเท่าเทียม เฉพาะผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเท่านั้นที่ลงคะแนนได้ และบัญชีผู้ใช้ใหม่ก็อาจไม่เป็นที่ยอมรับและโมฆะได้

การลงคะแนนที่เป็นบวก(เช่น เห็นด้วยหรือเป็นด้วยอย่างยิ่ง) ในขั้นสุดท้ายจะเรียงลําดับข้อแนะนําจากผลการลงคะแนนมากที่สุดลงไป ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของข้อแนะนํานั้น คุณจะถูกนับในการนับคะแนนโดยปริยายอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม การอภิปรายที่มีชีวิตชีวาจะได้รับการสนับสนุนในระหว่างขั้นตอนการลงคะแนน และหากคุณต้องการที่จะโพสต์ลงคะแนนเสียงคัดค้านหรือเป็นกลางร่วมกับการแสดงความคิดเห็น ก็สามารถทําได้ตามต้องการ อภิปรายเหล่านี้สามารถช่วยผู้คนในการสร้างความเอาใจใส่ของพวกเขาต่อสิ่งที่พวกเขาต้องการที่จะลงคะแนนเสียง โดยการอภิปรายยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการทํางานที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งปี

จํานวนที่เหมาะสมของการถามสารทุกข์สุขดิบเป็นที่ยอมรับ คุณมีโอกาสที่จะปล่อยไอเดียของคุณเพื่อคนจํานวนมากที่คุณสามารถเข้าถึง อย่าลังเลที่จะเผยต่อคนอื่น ๆ ในโครงการ, โครงการวิกิ หรือกลุ่มผู้ใช้ของคุณ ซึ่งนี่ไม่ควรเกี่ยวข้องกับหุ่นเชิดอย่างชัดเจน หรือรบกวนคนที่จะลงคะแนนเสียง หรือการเปลี่ยนแปลงคะแนนเสียงของพวกเขา แต่หากมีเจตนาดี "ที่ออกไปจากการลงคะแนนเสียง" นั้นไม่เป็นไรอย่างแน่นอน

แต่ละข้อเสนอต้องเข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • ข้อเสนอต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค และไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายหรือสังคม
  • ข้อเสนอต้องเกี่ยวกับปัญหา ไม่ได้มีไว้สําหรับการสอบถามการแก้ปัญหาเฉพาะจุด
  • ข้อเสนอต้องเป็นปัญหาที่ถูกพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว และไม่เป็นการนําหัวข้ออื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามารวมด้วย
  • ข้อเสนอนั้นจะต้องไม่อยู่ในแผนการดําเนินงานของทีมอื่น หรือไม่เคยถูกปัดตกโดยทีมอื่น
  • ข้อเสนอยังไม่เคยถูกปัดตกโดยทีมเทคนิคชุมชนหรือทีมอื่น ๆ
  • ข้อเสนอต้องอยู่ในขอบเขตของทีมเทคนิคชุมชน

ทีมเทคนิคชุมชนอาจปัดตกข้อเสนอหากไม่เข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้:

การเรียงลําดับตามจํานวนการลงคะแนนเห็นด้วยนั้นเป็นเพียงการจัดลําดับความสําคัญของข้อเสนอ และทีมเทคนิคชุมชนมีหน้าที่รับผิดชอบในข้อเสนอที่ได้รับความนิยม ในการทําเช่นนั้น เราสืบสวนความปรารถนาที่ติดอันดับทั้งหมด โดยจะตรวจสอบทั้งแนวโน้มความเสี่ยงทางเทคนิคและแนวโน้มความเสี่ยงด้านสังคมและทางนโยบายเช่นกัน

การลงคะแนนไม่เห็นด้วยและเป็นกลางนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการพิจารณาด้านลบ สําหรับข้อเสนอที่มีข้อขัดแย้ง เราจะปรับจํานวนการลงคะแนนให้เท่าเทียมกันกับการตรวจทานเชิงฉันทามติ กรณีเช่นนี้เช่นเมื่อครั้งปี 2015 มีข้อเสนอหนึ่งเกี่ยวกับการ "เพิ่มการเฝ้าดูผู้ใช้" ซึ่งได้รับการลงคะแนนเห็นด้วยไปเป็นจํานวนมาก แต่ก็ได้รับการให้เหตุผลเชิงลบที่ดีจากด้านที่ไม่เห็นด้วย เรารับฟังทั้งสองด้านและได้ทําการตัดสินใจว่าจะติดตามต่อหรือไม่ไปแล้ว

As an example, this worked in the 2015 survey: The wish to "add a user watchlist" received a lot of votes but also some heartfelt Oppose votes. Community Tech listened to all sides, and made a decision on whether to pursue the project or not.

สุนัขน่ารักทุกตัวที่สวมหมวกซานต้าทํางานให้กับเทคนิคชุมชน~

...แทนที่จะทําตามการสํารวจครั้งก่อน ๆ ให้เสร็จ?

สาเหตุหลักว่าเพราะเหตุใจเราจึงทําการสํารวจเป็นประจําทุกปีคือเราต้องผู้คนเข้าร่วมมากขึ้น ตอนนี้มีผู้คนมากขึ้นที่รู้จักทีมและรู้จักการสํารวจแล้ว กว่าปีที่ผ่านมาก็เห็นได้ว่ามีหลายข้อเสนอติดอันดับที่ถูกนําไปใช้งานจริงและเสร็จสิ้นไปแล้ว เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้คนจะสนใจมากขึ้นและยินดีที่จะเข้ามีส่วนร่วม เราต้องการให้ทุกคนมีโอกาสในการให้แนวคิดใหม่ ๆ เช่นกัน

เรายังต้องการตรวจสอบว่าแนวคิดจากการสํารวจที่ผ่าน ๆ มายังเป็นที่ต้องการอยู่หรือไม่ ยิ่งซอฟต์แวร์ได้รับการพัฒนามากขึ้น ความต้องการของผู้ใช้ก็เช่นกัน ในบางครั้ง ข้อเสนอที่ดีที่สุดจากปีที่แล้ว อาจไม่ได้จําเป็นขนาดนั้นเลยในตอนนี้ หรือเพียงแค่คําอธิบายที่ล้าสมัยไป การจัดการสํารวจใหม่เป็นประจําจะช่วยเน้นย้ําถึงสิ่งที่ชุมชนต้องการอย่างถูกต้อง

หากมีคําขอจากปีก่อน ๆ ที่คุณคิดน่าจะยังเป็นที่ต้องการ ดูเพิ่มที่ "ฉันสามารถนําข้อเสนอจากปีก่อน ๆ มาเสนออีกครั้งได้หรือไม่?" ด้านบน

AltStyle によって変換されたページ (->オリジナル) /